Featured Stories
ถ้ำชา
จากภาชนะบรรจุเครื่องเทศสู่ของสะสมอันล้ำค่า
ความนิยมการดื่มชาและถ้ำชาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน นับตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับช่วงราชวงศ์ชิงของจีน (ปีค.ศ. 1636 ถึง ค.ศ. 1912) วัฒนธรรมการดื่มชารวมถึงความนิยมถ้ำชาได้แพร่หลายเป็นอย่างมากจนทำให้ชาและถ้ำชากลายเป็นสินค้านำเข้าขายดี นอกจากนั้นถ้ำชายังเป็นเครื่องกระเบื้องที่เป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมอีกด้วย
หากว่าในวงการนักสะสมสากล ‘ถ้ำชา’ เป็นที่รู้จักในชื่อ ‘ginger jar’ ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า โถหรือกระปุกสำหรับบรรจุขิง แต่อันที่จริงแล้วในประเทศจีนภาชนะลักษณะนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ‘ก้วน’ หรือ ‘罐’ (Guàn) ซึ่งมีความหมายว่ากระปุกหรือเหยือก โดยภาชนะชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากสมัยราชวงศ์ฉิน (221 – 207 ปีก่อนคริสตกาล) เพื่อบรรจุเครื่องเทศ อย่างเช่น เกลือหรือขิง แต่เมื่อขิงกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญสู่ประเทศตะวันตก ภาชนะชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักว่า ‘ginger jar’
นอกจากประโยชน์ใช้สอยที่นำมาบรรจุสิ่งของได้อย่างมากมาย ภาชนะชนิดนี้ถูกออกแบบด้วยสีสันหลากหลายและลวดลายตามลักษณะของเครื่องกระเบื้องจีน เมื่อเวลาผ่านไปจึงได้กลายมาเป็นของตกแต่งอันล้ำค่า โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 18 -19 ได้กลายมาเป็นสินค้านำเข้าหลักของประเทศยุโรป จากภาชนะสำหรับใส่เครื่องเทศจึงกลายเป็นสินค้านำเข้าที่ทั้งล้ำค่าและหรูหรา
ในงานประมูลออนไลน์ Timed Auction ซึ่งเปิดประมูลถึงวันที่ 4 มิถุนายนนี้มีถ้ำชาซึ่งเป็นชิ้นไฮไลท์อยู่ 3 ชิ้นด้วยกัน ได้แก่ Lot 580, Lot 581 และ Lot 683 โดยทั้งสามชิ้นนี้เป็นงาน ‘เล่งจั๊ว’ ซึ่งเป็นงานที่เน้นการตกแต่งน้ำเคลือบแบบลายรานไปทั่วพื้นผิวประกอบการเขียนสีเหนือเคลือบ ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการสะสมสากลว่า ‘Chinese Crackle Glazed’ หรือ ‘Nanking Crackle Ware’
ชมชิ้นงานและเข้าร่วมประมูลคลิก
ชมวิดีโอแนะนำแต่ละขั้นตอนในการลงทะเบียนเข้าร่วมประมูลคลิก
สอบถามหรืออัพเดทข้อมูลก่อนใคร แอดเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line: @rcbauctions