Featured Stories
เครื่องลายครามจีนและศิลปะแห่งศาสนาพุทธแบบทิเบต
ชิ้นงานไฮไลท์นี้เป็นเสมือนทูตสันทวไมตรีอันบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธแบบทิเบตในประวัติศาสตร์จีน
จะเห็นได้ว่าความโดดเด่นของชามกระเบื้องเคลือบน้ำเงินขาวชิ้นนี้อยู่ที่ลวดลายทั้งภายในและภายนอกซึ่งเขียนเป็นอักษรสันสกฤต เชื่อว่าภาชนะนี้อาจใช้ประกอบพิธีกรรมสำหรับวัชรยาน (Vajarayana) ซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ และมักเป็นที่จดจำด้วยการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ดูลึกลับ
วัชรยานมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดียราวศตวรรษที่ 6-7 และแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบตจนบางทีเรียกว่าศาสนาพุทธธิเบต
คำว่า ‘วัชรยาน’ หมายถึง ยานเพชร อันแฝงนัยยะถึงความเชื่อในวิธีการตรัสรู้อย่างรวดเร็วในชาติเดียวด้วยการประกอบพิธีกรรม การสวดและการทำสมาธิเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องเกิดมาหลายชาติภพ อีกทั้งบุคคลทั่วไปสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องบวชเป็นพระ
เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในประเทศจีน ซึ่งได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อๆ มา ในศตวรรษที่ 13 พุทธศาสนานิกายถูกเผยแพร่เข้ามาในจีน และหนึ่งในนั้นคือ วัชรยาน หรือศาสนาพุทธแบบทิเบต สิ่งนี้จึงมีอิทธิพลมาสู่ข้าวของเครื่องใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเช่นชิ้นงานไฮไลท์นี้จากสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 – ค.ศ.1644) อันเป็นยุคสมัยที่โดดเด่นในด้านงานศิลปะและการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอันเกิดจากพระราชอุปถัมภ์ของจักรพรรดิผู้น้อมรับศาสนาพุทธจากประเทศเพื่อนบ้าน
Lot 664
ชามกระเบื้องเคลือบน้ำเงินขาวลายนอกและในลายอักษรสันสกฤตและเถาดอกบัว
สไตล์จีนจากศตวรรษที่ 17
ขนาด: กว้าง 16.5 ซม. สูง 7 ซม.
ราคาเริ่มต้น: 5,000 บาท
ราคาประเมิน: 6,000 – 7,000 บาท
ประมูลชิ้นงานนี้คลิค