เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.

Featured Stories

เลอค่าหลักล้านในงานทอพรมเปอร์เซีย

กาลเวลาอันยาวนานได้สั่งสมมูลค่าให้กับงานศิลปะและงานฝีมือที่เรียกได้ว่ามีเพียงชิ้นเดียวในโลก!

พรมเปอร์เซียผืนงามได้รับการเก็บรักษาอย่างดีในพิพิธภัณฑ์อันมีชื่อเสียงทั่วโลก ตลอดจนพระราชวัง คฤหาสน์และที่พักอาศัยของนักสะสมผู้เปี่ยมด้วยรสนิยมซึ่งปรารถนาที่จะเป็นผู้ครอบครองงานศิลปะประเภทนี้อันถือกำเนิดในแถบเอเชียกลางมาตั้งแต่หลายพันปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของการทอพรมเปอร์เซียนั้นไม่ได้มาจากวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามและใช้สำหรับการตกแต่งสถานที่ แต่เพื่อการปกป้องจากสภาพอากาศอันหนาวเย็นของพื้นที่ในแถบนั้นอันเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน พวกเขาทอพรมขึ้นจากมือโดยใช้เครื่องทอเส้นด้ายในแนวตั้งซึ่งง่ายต่อการโยกย้ายไปยังที่ต่างๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 ซึ่งถือเป็นยุคทองของพรมเปอร์เซียเมื่อพระเจ้าซาห์อับบาส (Shah Abbas) ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid Dynasty) ซึ่งครองราชย์ในช่วงปีค.ศ. 1587 – ค.ศ. 1629 พระองค์ทรงมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่าน) และหนึ่งในนั้นคือการทำให้แคว้นนี้ขึ้นชื่อในด้านการทอพรม และทำให้เมืองอิสฟาฮาน (Isfahan) ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของแคว้นนี้ได้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่อันเป็นศูนย์กลางการค้ากับทวีปยุโรปและเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านพรมเปอร์เซีย ไม่นับรวมอีกหลายเมือง เช่น แทบรีซ (Tabriz) เคชาน (Keshan) นาอีน (Nain) และที่คุ้นหูในหมู่นักสะสมพรมคือโกม (Ghom) ซึ่งพรมที่ทอขึ้นในแต่ละเมืองนั้นมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

พระเจ้าอับบาสมหาราชทรงสร้างเวิร์คช็อปและอุปถัมภ์ช่างฝีมือไว้จำนวนมากเพื่อเนรมิตพรมเปอร์เซียผืนงามซึ่งมีความพิเศษอยู่ที่การใช้วัสดุไหมจากธรรมชาติที่ผสมผสานกับเส้นด้ายทองและเงินเพื่อความสวยงาม และหัวใจสำคัญที่ทำให้พรมเปอร์เซียมีมูลค่าสูงก็เพราะคุณค่าจากการทอด้วยมือของช่างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น คุณค่าของพรมแต่ละผืนสัมผัสได้จากความหนาแน่นของจำนวนปมต่อตารางเมตร โดยมาตรฐานของพรมเปอร์เซียจะอยู่ที่จำนวนปมอย่างน้อย 600,000 ปมต่อตารางเมตร นั่นหมายความว่าพรมแต่ละผืนมีความละเอียดสูงและต้องใช้เวลาทอนานนับปี ส่วนลายเซ็นของศิลปินหรือเวิร์คช็อปที่สร้างสรรค์พรมแต่ละผืนขึ้นมานั้นก็มีความสำคัญมากสำหรับการเก็บสะสมพรมไม่แพ้ลายเซ็นของศิลปินบนภาพวาด ยิ่งเป็นฝีมือการทอของศิลปินหรือเวิร์คช็อปที่มีชื่อเสียง เช่น Alabaf, Astan Ghods Razavi, Habibian,Khadivi, Saber ก็ยิ่งทำให้พรมผืนนั้นเป็นที่ต้องการและมีราคาที่สูง

เฉกเช่นงานฝีมือแขนงอื่นๆ ศิลปะการทอพรมเปอร์เซียในปัจจุบันได้เลือนลางหายไปเพราะขาดการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นหรือมีการหันไปใช้เครื่องจักรในการทำงานมากขึ้น ทำให้คุณค่าในชิ้นงานลดน้อยถอยลง ในขณะที่ผืนพรมชิ้นงามที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานกลับหาได้ยากยิ่งและทวีมูลค่าให้กับนักสะสมผู้ครอบครอง

ร่วมค้นหาคำตอบของนิยามแห่งไลฟ์สไตล์ที่กลายมาเป็นศิลปะแห่งการใช้ชีวิตได้ใน Echoes of the Past: An Exhibition of Antique Pianos and Persian Carpetsนิทรรศการเปียโนและพรมเปอร์เซียอายุนับร้อยปีอันล้ำค่าและหายากได้คัดสรรพรมเปอร์เซียอันล้ำค่า 14 ผืนอันเป็นชิ้นงานสะสมของมร. วิคตอร์ บอลลิเชร์ (Viktor Bolliger) มาจัดแสดงให้ชมฟรีที่ RCB Artery ชั้น 1 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ถึงวันที่ 23 เมษายนนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก