Featured Stories
ใบโพธิ์ทองคำแห่งพิธีศักดิ์สิทธิ์
ประเทศไทยมีประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยศิลปะที่สร้างขึ้นอย่างวิจิตรตระการตา “พิธีวักแว่นเทียน” เป็นหนึ่งในพิธีกรรมสำคัญที่ยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อคราวฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2390 ตรงกับรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเครื่องเคราที่ใช้ประกอบพิธีที่เห็นได้อย่างโดดเด่นคือ “แว่นเทียน” หมายถึงแว่นสำหรับใช้ติดเทียนเพื่อให้ผู้ประกอบพิธีสามารถจับเทียนได้อย่างถนัด ส่วนใหญ่มักทำจากเงิน ทอง นาก ให้มีลักษณะแบน มีด้ามสำหรับจับ และมีปลายแหลมเหมือนใบโพธิ์
แว่นเทียนมักถูกใช้ในพิธีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนามากมายซึ่งมักจะเป็นพิธีที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าร่วมได้ รวมไปถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ถูกจัดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้คำว่า ‘แว่นเทียน’ หรือ ‘วักแว่นเทียน’ เป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นเคยนักสำหรับบุคคลทั่วไป ทว่าในพิธีสมโภชพระพุทธปฏิมาประธานที่วัดสุทัศน์ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีนั้นได้มีการเปิดให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมในขั้นตอนวักแว่นเทียนได้ โดยผู้ร่วมพิธีจะ “วัก” หรือ “กวัก” แว่นเทียนเข้าหาตัวสามครั้ง แล้วปักควันเทียนออกไปหาพระประธานหนึ่งครั้ง ต่างจากการเวียนเทียนซึ่งเป็นการถือดอกไม้ธูปเทียนที่จุดแล้วเวียนขวารอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานสามรอบ
แว่นเทียนสำริดรูปใบโพธิ์นั้นจึงนับเป็นงานศิลป์ในพิธีกรรมสำหรับชนชั้นสูง ซึ่งหากพินิจมองอย่างถี่ถ้วนจะเห็นรายละเอียดบนแว่นเทียนที่แสดงความละเมียดอ่อนช้อยอย่างไทยอันทรงคุณค่า
Lot 694 ชุดแว่นเวียนเทียนสำริดลงรักปิดทองตกแต่งลายพุ่มข้าวบิณฑ์และวัตถุมงคลไทย (3 ชิ้น)
สไตล์ไทย-รัตนโกสินทร์จากศตวรรษที่ 20
ขนาด: กว้าง 9.5 ซม. ยาว 26 ซม.
ราคาประเมิน: 7,000 – 9,000 บาท
ราคาเริ่มต้น: 6,000 บาท