Featured Stories
อัญมณีและเครื่องเงินแห่งจักรวรรดิโมกุล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายความหมายของคำว่า “กุดั่น” เอาไว้สองความหมายคือ
(๑) น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุพ้น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก
(๒) น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่ง เป็นดอกไม้ ๔ กลับรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจำยาม
ลักษณะของกุดั่นจึงมีความเกี่ยวข้องกับการประดับตกแต่งด้วยพลอย กระจก หรือการปิดทอง ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า กุนดัน หรือ กุนดาน (Kudan) ในภาษาท้องถิ่นของอินเดีย ที่หมายถึงทองคำที่มีคุณภาพสูงหรือหัตถกรรมการประดับอัญมณีที่ประกอบไปด้วยพลอยและทองคำเปลวซึ่งมักถูกใช้ทำเป็นเครื่องประดับสร้อยสังวาลย์
การทำกุนดันหรือกุนดานนั้นมีต้นกำเนิดมาจากรัฐราชสถานหรือรัฐคุชราตในประเทศอินเดียซึ่งถูกถ่ายทอดไปสู่ราชสำนักจักรวรรดิโมกุลซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 โดยวิธีการทำกุนดันที่เป็นที่นิยมกันจะเริ่มจากการขึ้นลายบนชิ้นทองคำหรือโลหะชุบทอง นำอัญมณีไปฝังลงในช่องที่มีการขึ้นลายไว้ แล้วทำการขัดให้เงางาม อย่างไรก็ตาม ยังมีการทำกุนดันในอีกรูปแบบหนึ่งอันมีชื่อเรียกว่า กุนกัน มีนา (Kundan Meena) ซึ่งเป็นหัตถกรรมเลื่องชื่อของเมืองชัยปุระ แคว้นราชสถาน โดยมีวิธีการทำคือการขึ้นชิ้นทองให้แต่ละช่องเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วลงยาหรือประดับกระจกสีไว้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งใช้การประดับอัญมณี
ซึ่งในการประมูล Live Auction ในครั้งนี้ RCB Auctions ได้คัดสรรชิ้นงานกุดั่นหายากมาให้ทุกท่านได้ร่วมประมูล คือ ถาดทรงอานม้าเงินกุดั่นแกะลวดลายฉลุมังกรท่ามกลางเถาไม้ เป็นถาดจุ๊นเงินสลักรายละเอียดประดับอัญมณีหลากสีซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นงานไฮไลท์ของเราที่มีความประณีตและงดงาม คู่ควรแก่การครอบครองไว้เป็นอย่างยิ่ง
ถาดทรงอานม้าเงินกุดั่นแกะลายและฉลุลายมังกรท่ามกลางเถาไม้ (ถาดจุ๊น) (1 ชิ้น)
สไตล์ไทย-จีนจากช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ขนาด: กว้าง 9 ซม. ยาว 16 ซม. สูง 2.5 ซม. น้ำหนัก 138 กรัม
ราคาประเมิน: 50,000 – 70,000 บาท
ราคาเริ่มต้น: 24,000 บาท