เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.

Featured Stories

ตะลุ่มประดับมุก: ศิลปะแห่งอยุธยาที่ยังคงสืบทอดความงดงามมาจนถึงปัจจุบัน

“ตะลุ่ม” คือคำที่ใช้เรียกภาชนะชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพาน ต่างกันเพียงแค่มีปากงุ้มเข้า แต่เดิมนั้น ตะลุ่มมีสองลักษณะด้วยกันคือ ‘ตะลุ่มแบบกลม’ และ ‘ตะลุ่มแบบเหลี่ยม’ ซึ่งเป็นแบบที่ยังคงนิยมใช้กันอยู่มากมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้เป็นเครื่องใช้แทนพานหรือถาดเพื่อใส่สิ่งของในการถวายพระ รวมไปถึงเป็นที่ใส่ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู ยารักษาโรค และอาหารคาวหวานที่ต้องการนำมาถวายอีกด้วย

วัสดุที่ใช้ทำตะลุ่มมักเป็นวัสดุท้องถิ่นหาได้ง่ายในประเทศไทย อาทิ หวายน้ำ (พืชตระกูลปาล์มที่มีความเหนียว แข็งแรง และยืดหยุ่น) หวายน้ำผึ้ง ไม้ทองหลาง ไม้รวก ซึ่งจะใช้ควบคู่กับอุปกรณ์เครื่องมือช่างทั่วไป เช่น เลื่อย สิ่ว ค้อน มีดจักตอก เหล็กหมาด (หรือเหล็กนำ) มีดขอนปลายงอที่ทำขึ้นมาเฉพาะ และไม้แบบของตะลุ่มแต่ละขนาด รวมไปถึงส่วนฐานและตัวตะลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการใช้ลูกมะพลับมาทำเป็นกาวโดยใช้การโขลกตำ เมื่อลูกมะพลับแตกออกแล้วจึงนำมาผสมกับน้ำคลอง แล้วนำมาหมักทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้ได้ยางเหนียว ซึ่งจะสามารถนำมาใช้แทนกาวได้ อย่างไรก็ตาม ตะลุ่มที่ถูกใช้โดยผู้ที่มีฐานะหรือยศศักดิ์มักทำจากวัสดุมีราคาแพงแทนวัสดุที่หาได้ง่ายทั่วไป ไล่เรียงตั้งแต่เงิน ทอง ไปจนถึงการประดับมุก นอกจากนี้ การใช้งานของตะลุ่มในหมู่เชื้อพระวงศ์หรือชนชั้นสูงนั้นจะไม่ได้จำกัดการใช้งานเพียงแค่การถวายสิ่งของหรือสำรับให้แก่พระสงฆ์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้สอยเป็นภาชนะในชีวิตประจำวันได้ อาทิ ใช้เป็นเครื่องวางชุดถ้วยสำรับอาหาร เป็นต้น

การประดับมุกนั้นมีประวัติยาวนานนับตั้งแต่สมัยอยุธยา ปรากฏหลักฐานที่บานประตูพระบรมโกศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา โดยมีความเชื่อกันว่างานศิลปะหรือชิ้นงานใดที่มีการประดับมุกนั้นถือเป็นการใช้บ่งบอกถึงฐานานุศักดิ์และความเจริญรุ่งโรจน์ของผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่แพร่หลายกันทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ อาทิ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น หากแต่จะแตกต่างกันที่วิธีกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะของแต่ละประเทศ โดยกระบวนการประดับมุกของไทยดั้งเดิมคือการใช้วิธี “สมุกติด” หมายถึงการนำผงถ่านใบตองมาผสมกับปูนแดงเพื่อใช้แทนกาวสำหรับติดมุก ซึ่งชาวไทยมักมีความเชื่อว่า ‘มุก’ นั้นเป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่อง จึงทำให้มุกกลายมาเป็นตัวเลือกอันเป็นที่นิยมในการใช้ประดับตกแต่งภาชนะในพิธีกรรมทางศาสนานั่นเอง 

เนื่องด้วยการใช้สอยของตะลุ่มนั้นมักถูกจำกัดให้เป็นภาชนะหลวงที่ใช้ในพระราชสำนักหรือเป็นพานสำหรับการถวายพระสงฆ์ในวัด และหากมีการใช้สอยตามบ้านเรือนก็มักจะเป็นบ้านของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ระดับเจ้านายชั้นสูงหรือคหบดีเท่านั้น จึงทำให้การใช้สอยของงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคมไทยเนื่องจากเป็นภาชนะที่สามัญชนทั่วไปไม่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตะลุ่มจึงถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมชั้นสูงที่มีความประณีตละเอียดลออในการทำ อีกทั้งยังหาชมได้ยากและพบได้ไม่บ่อยนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตะลุ่มที่มีการประดับตกแต่งด้วยมุก อันสามารถกล่าวได้ว่าเป็นชิ้นงานที่ถูกใช้ในที่พักอาศัยของเหล่าเชื้อพระวงศ์หรือเจ้าขุนมูลนายผู้มีฐานันดรสูงศักดิ์เท่านั้น ทำให้ตะลุ่มประดับมุกนั้นมีราคาสูงและควรแค่แก่การสะสมเป็นอย่างยิ่ง

Lot 127
ถาดไม้ฝังมุกทรงกระบอกย่อมุมและก้านขด (1 ชิ้น)

สไตล์ไทย-รัตนโกสินทร์จากศตวรรษที่ 19
ขนาด: กว้าง 33 ซม. สูง 13 ซม.
ราคาประเมิน: 40,000 – 50,000 บาท

ราคาเริ่มต้น: 16,000 บาท

Lot 128
ตะลุ่มไม้ฝังมุกลายก้านต่อดอก (1 ชิ้น)

สไตล์ไทย-รัตนโกสินทร์จากศตวรรษที่ 19
ขนาด: กว้าง 34 ซม. สูง 19 ซม.
ราคาประเมิน: 30,000 – 40,000 บาท

ราคาเริ่มต้น: 18,000 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก