เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.

Featured Stories

ประณีตศิลป์แห่งไม้สลักไทย

เครื่องไม้มีต้นกำเนิดมานานตั้งแต่โบราณโดยไม่สามารถระบุหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด (บ้างก็ว่ากินระยะเวลากว่า 7,000 ปี) หากแต่สามารถจัดสรรให้เป็นในส่วนของเครื่องเรือนได้ กล่าวคือสามารถใช้ดัดแปลงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหนึ่ง เช่น การใช้สอยการนอน การนั่ง การรับประทานอาหาร ฯลฯ ฉะนั้นการออกแบบเครื่องเรือนจึงทำกันไปตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยจะมีรูปลักษณ์เป็นไปตามศิลปวัฒนธรรมของแต่ละประเทศหรือตามแบบสากลนิยมในปัจจุบัน

แต่หากจะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นในสยาม ก็ต้องเท้าความย้อนกลับไปตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีหลักฐานปรากฏอยู่บันทึกของราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสนามว่า ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ และ บาทหลวงตาชารด์ มิชชันนารีคณะเยสุอิตและนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้กล่าวถึงลักษณะของเครื่องเรือนไม้ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไว้ ทำให้สามารถจำแนกเครื่องเรือนได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นเสื่อ แคร่ ตั่ง และตู้ โดยเครื่องไม้ไทยจะมีความพิเศษคือการสลักลวดลายลงไปบนเนื้อไม้ ไม่ว่าจะเป็นการลงรักปิดทอง การทาด้วยชาดให้มีสีโดดเด่น และกรรมวิธีต่าง ๆ ตามจินตนาการและรูปทรงที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่เครื่องเรือนนั้น ๆ

งานไม้สลัก หรือ “งานแกะสลักไม้” ประเพณีของไทยนั้นถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ ประณีต และละเอียดลออสวยงาม ซึ่งปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัยในแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยในแต่ละผลงาน โดยเฉพาะงานไม้ที่ใช้ประกอบพิธีการสำคัญ มักมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือดีผู้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษและภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนเป็นคนลงสลักลายลงบนเนื้อไม้ อาทิ ที่นั่งหรือเก้าอี้ ซึ่งในอดีตไม่ได้มีอยู่ในบ้านเรือนทั่วไปและนิยมใช้ในหมู่ผู้มีอำนาจหรือยศถาบรรดาศักดิ์เท่านั้น ดังเช่นพระมหากษัตริย์ เจ้านาย หรือพระสงฆ์ที่ในอดีตจะนั่งบนแท่นหรือตั่งในที่ประชุมชน

ภายหลัง งานแกะสลักไม้ก็มีการปรับเปลี่ยนและปรุงแต่งให้สวยงามตามนิยมหรือวิวัฒนาการเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือความเอาใจใส่ ความประณีต และจิตวิญญาณของช่างฝีมือที่บรรจงทุ่มเทลงไปกับการแกะสลักในลวดลายที่ตนได้สรรค์สร้างขึ้น เฉกเช่นกับตู้อัฒจันทร์พระขนาดเล็กอายุกว่าร้อยปีใน Lot 43 ใบนี้ ที่ช่างฝีมือในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้พิถีพิถันในการรังสรรค์ชิ้นงานออกมา ทั้งการแกะ การฉลุลายดอกไม้ การลงรักปิดทอง และการทาชาดที่เสริมความขลังและความน่าเคารพนับถือแก่สิ่งที่บูชา ควรค่าแก่การเก็บสะสมเป็นอย่างยิ่ง

Lot 43
ตู้อัฒจันทร์พระขนาดเล็กลงรักปิดทองแกะสลักลายเถาดอกไม้และขาสิงห์ (ตู้ฉั๊ว) (1 ชิ้น)
สไตล์ไทย-รัตนโกสินทร์จากช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ขนาด: กว้าง 30 ซม. ยาว 25 ซม. สูง 78 ซม.
ราคาประเมิน: 70,000 – 90,000 บาท
ราคาเริ่มต้น: 28,000 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก