เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น.

Featured Stories

เครื่องเงินจากท้องทะเลหลวง: ประวัติโดยย่อของเครื่องถมแห่งสยาม

ในปี พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 ของราชวงศ์จักรีแห่งประเทศไทยได้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามธรรมเนียมปฏิบัติไปให้แก่ แฟรงกลิน เพียร์ซ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในยุคสมัยนั้นภายหลังการให้สัตยาบันสนธิสัญญาแฮร์ริส โดยได้มีการบรรจุของขวัญหลากหลายมากมายบนเรือส่งสินค้าที่ราชสำนักสยามได้จัดเตรียมไว้อย่างดีไปเต็มลำ ซึ่งในบรรดาของขวัญที่ส่งไปนั้นก็ล้วนแสดงถึงวัฒนธรรมและความสามารถอันโดดเด่นของช่างฝีมือชาวไทย โดยหนึ่งในของขวัญล้ำค่าเหล่านั้นก็คือ ‘เครื่องถมทอง’ งานฝีมือซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเชื้อพระวงศ์และเจ้าขุนมูลนายของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ของเหล่าขุนนางได้อีกด้วย โดยกาน้ำชาแสนล้ำค่าจากศตวรรษที่ 19 ที่เรานำมาให้ชมกันนี้เป็นทรัพย์สินตกทอดของท่านเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมประจำประเทศไทยซึ่งจำลองแบบมาจากกาน้ำชาถมทองเครื่องราชบรรณาการในช่วงการทำสนธิสัญญาแฮร์ริส

จุดเริ่มต้นการทำเครื่องถมทองในประเทศไทยยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน บ้างก็ว่ามีต้นกำเนิดมาจากอิทธิพลของการค้าขายกับชาวโปรตุเกสในช่วงศตวรรษที่ 16 ในขณะที่บางคนก็เชื่อว่าการมีอยู่ของเครื่องถมทองนั้นมีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 13 ในสมัยที่ประเทศไทยได้มีการค้าขายกับพ่อค้าชาวเปอร์เซียในระนาบชายฝั่งของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งก็ยังคงเป็นศูนย์กลางของการผลิตเครื่องถมทองมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของลวดลายดอกไม้คดเคี้ยวที่ประดับอยู่บนตัวกาน้ำชานั้นเป็นศิลปะที่พบได้ทั่วไปบนเครื่องถมของไทยช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งเป็นลวดลายที่มีลักษณะคล้ายคลีงกับลายดอกไม้ที่พบในงานถมทองของชาวเปอร์เซียในช่วงศตวรรษที่ 16

หลังจากสถาปนาราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 ความหลากหลายและการใช้งานของเครื่องถมในราชสำนักก็มีมากขึ้น และได้มีการใช้ช่างฝีมือที่มีความสามารถและความปราณีตละเอียดอ่อนสูงอย่าง ‘ช่างหลวง’ มาประดิษฐ์ชิ้นงาน จึงทำให้เครื่องถมมักรวมอยู่ในชุดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กษัตริย์พระราชทานแก่ราชวงศ์และขุนนางในราชสำนักแต่ละชั้น โดยนอกจากที่จะต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับแล้วก็จะต้องนำของพระราชทานเหล่านี้ติดตัวมาด้วยเมื่อมีการจัดงานหรือพิธีต่าง ๆ ในราชสำนัก หนึ่งในชุดเครื่องเงินที่เหล่าเจ้าขุนมูลนายพกพาก็คือ ‘ชุดหมากพลู’ ซึ่งจะถูกดูแลโดยผู้ติดตาม การพกพาเครื่องอิสริยาภรณ์ที่ได้รับการพระราชทานมานี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ ความมั่งคั่ง และยศฐาบรรดาศักดิ์ของผู้เป็นเจ้านายนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีการเริ่มสะสมเครื่องถมและอุปกรณ์ชุดชาในหมู่ครอบครัวชนชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นกาอุ่นชา กาน้ำ และถ้วยชา ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ถูกนำไปจัดแสดงในการแข่งขันการจัดชุดชาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว

เครื่องถมทองนั้นเป็นผลผลิตจากส่วนผสมของเงิน ตะกั่ว และกำมะถันที่มีกระบวนการประดิษฐ์แตกต่างกันตามรูปแบบของช่างเงินแต่ละคน มีวิธีการทำคือเริ่มต้นจากการออกแบบลวดลายบนพื้นผิวของเงิน โดยช่างเงินจะใช้ส่วนผสมของถมดำและเพิ่มความร้อนให้ตัวถมได้หลอมละลายจนถึงรอยบากที่วาดเอาไว้จนเกิดเป็นลวดลายเส้นสีดำ เดิมทีช่างฝีมือและช่างเงินชาวไทยมักไม่นิยมลงลายมือชื่อหรือสัญลักษณ์ของตนลงบนชิ้นงาน ทำให้การจำแนกเครื่องเงินเหล่านี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการระบุด้วยรูปแบบ การออกแบบ และลวดลายเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับชิ้นงานที่อาจถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงสมัยเดียวกัน การจำแนกอายุของเครื่องถมทองที่ผลิตโดยช่างเงินชาวจีนที่อาศัยอยู่ในสยามระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2393 – 2463 นั้นจะสามารถระบุได้ด้วยรอยบากหรือรอยสับ ซึ่งจะบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของตัวเงินที่อาจเผยชื่อของช่างฝีมือ โรงงาน หรือผู้ที่ทำการค้าขายชิ้นงานได้ อาทิ เครื่องหมายของ ‘ถัน เยวี่ย เหอ’ (譚粤和) ช่างศิลป์ชาวจีนผู้ได้รับพระบรมราชานุญาตในการทำเครื่องถมทองให้กับพระบรมมหาราชวัง

แม้จะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่กาลเวลาและรสนิยมที่เปลี่ยนไปทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีที่อยู่เคียงคู่ชาวไทยอย่างการเคี้ยวหมากมีความนิยมน้อยลง ส่งให้การผลิตเครื่องถมในประเทศไทยลดลงไปมากเสียจนเหลืออยู่เพียงแค่ 10 ครัวเรือนในจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้นที่ยังคงสานต่อวัฒนธรรมอันยาวนานของไทยนี้ แต่ด้วยความหลงใหลในประวัติศาสตร์และความพยายามที่อยากจะค้นคว้าเรื่องราวและตามหาผลงานศิลปะที่หายสาบสูญไปต่าง ๆ ของเหล่านักสะสมทำให้ผลงานศิลปวัฒนธรรมอย่างเครื่องถมทองนี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์ เป็นที่ประจักษ์ และสะท้อนให้เห็นถึงความรู้เรื่องในงานฝีมือของไทยสู่เยาวชนรุ่นหลังได้ต่อไป

Lot 99

กาน้ำชาถมทองทรงกระบอกประดับลายเครือเถาก้านขดและนกไม้ (1 ชิ้น)

สไตล์ไทย-รัตนโกสินทร์จากศตวรรษที่ 19

ขนาด: กว้าง 15 ซม. สูง 23 ซม. น้ำหนัก 664 กรัม

ราคาประเมิน: 600,000 – 800,000 บาท

ราคาเริ่มต้น: 180,000 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก