Featured Stories
โอ่งพันเกี๋ย เครื่องเรือนแห่งราชนิกุลและชนชั้นสูง
โอ่งบัวลายครามพันเกี๋ยเป็นหนึ่งในผลงานสร้างสรรค์จากความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในรัชสมัยของราชวงค์หมิงที่ได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมภาชนะเคลือบและการค้าขายเครื่องลายครามจีนฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ทำให้มีการใช้ระบบการตั้งชื่อที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อสามารถระบุขนาด รูปร่าง และประเภทของเครื่องเคลือบดินเผาที่จะนำไปค้าขายทั้งในและต่างประเทศตามอัตราในการกำหนดขนาดของจีน ซึ่งโอ่งบัวลายครามพันเกี๋ยชิ้นนี้เป็นเครื่องเคลือบขนาดใหญ่ที่สุดในตารางทั้งหมดสิบขนาดของจีน โดยมีความจุเท่ากับไข่ 1000 ใบ เป็นที่มาของชื่อ เชย (千) เกี๋ย ที่แปลว่าหนึ่งพัน หรือที่ชาวสยามผันเป็น พันเกี๋ย นั่นเอง แม้จะเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ แต่การตกแต่งลวดลายของโอ่งพันเกี๋ยนั้นใช้พู่กันขนาดเล็กในการตัดเส้นลวดลายในการวาดหงส์และมังกร ทำให้เครื่องเคลือบมีความละเอียดอ่อนและมีคุณภาพยอดเยี่ยม ฉะนั้น โอ่งพันเกี๋ยจึงมักเป็นเครื่องเรือนที่ถูกเลือกให้ใช้ตกแต่งสะสมอยู่ในหมู่คนชนชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชสำนักไทยในสมัยโบราณ ซึ่งมักจะมีการนำโอ่งพันเกี๋ยเข้ามาตกแต่งในรั้ววัง อาทิเช่น การประยุกต์เอาโอ่งพันเกี๋ยไปเป็นอ่างบัวเพื่อตกแต่งโรงเฟิร์นในพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในภาพจากหนังสือ “ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ: หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์”
Lot 210: โอ่งบัวขนาดใหญ่กระเบื้องเคลือบน้ำเงินขาว เขียนลายหงส์ร่อนมังกรในช่องกระจกสลับลายเถาดอกบัว ที่ขอบด้านบนเขียนลายหัวยู่อี่ประแจจีน ที่ขอบด้านล่างเขียนลายกลีบดอกไม้ (โอ่งพันเกี๋ย) (1 ชิ้น)
สไตล์จีนจากช่วงต้นศตวรรษที่ 19
ขนาด: กว้าง 69.5 ซม. สูง 57 ซม.
ราคาประเมิน: 2,500,000 – 3,000,000 บาท
ราคาเริ่มต้น: 450,000 บาท
ชมชิ้นงานของตกแต่งล้ำค่าและเข้าร่วมประมูลได้ที่ https://bit.ly/3EK87Kl และแอพลิเคชั่น RCB Auctions