Featured Stories
สิงโตตามความเชื่อของศาสนาพุทธซึ่งปรากฏอยู่ในงานศิลปะจีน
แต่เดิมนั้นสิงโตไม่ได้ปรากฏอยู่ในรูปปั้นจีนคลาสสิคเนื่องจากสัตว์ประเภทนี้ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวจีนโบราณ สิงโตถูกส่งไปที่ประเทศจีนเพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการเมื่อ 87 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล – 220 ปีหลังคริสตกาล) การใช้สิงโตเป็นลวดลายตกแต่งนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากเอเชียใต้และตะวันออกกลางโดยผ่านเส้นทางสายไหม ต่อมากลายเป็นสัตว์มงคลและปรากฏอยู่ในงานศิลปะหลายชิ้น ในภาษาจีนคำว่าสิงโตคือ ‘师 Shi’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า ‘ปรมาจารย์’ หรือ ‘อาจารย์’ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสัตว์ชนิดนี้ได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีน
ภาพของสิงโตจีนดูคล้ายกับสิงโตในศาสนาพุทธที่มาจากประเทศอินเดีย โดยเชื่อกันว่าสิงโตคือผู้พิทักษ์แห่งศาสนาพุทธ รูปปั้นสิงโตคู่จึงมักตั้งไว้ที่ทางเข้าของอาคารสำคัญและวัดในศาสนาพุทธเพราะสิงโตคือผู้ปกปักษ์รักษาและผู้คุ้มครองกฎ ในช่วงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงตอนต้น สิงโตปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของข้าราชการทหารเพื่อบ่งบอกถึงอำนาจ สิงโตในศาสนาพุทธดูไม่คล้ายกับสิงโตจริงๆ เท่าไหร่นักแต่ค่อนข้างคล้ายกับสุนัขที่วิจิตรบรรจงมากขึ้น ดังนั้นจึงเรียกกันว่าสุนัขที่ดูคล้ายกับสิงโต สิงโตเพศผู้มักปรากฏคู่กับลูกบอลที่เย็บจากผ้าไหมและตกแต่งด้วยริบบิ้นที่พลิ้วไหว ส่วนสิงโตเพศเมียจะปรากฏเป็นฝูง แรกเริ่มนั้นใช้เป็นลายประดับบนเครื่องลายครามในราชวงศ์หมิง (1368-1644 หลังคริสตกาล) เมื่อศิลปินเริ่มถ่ายทอดสิงโตให้ดูมีลูกเล่นมากขึ้น ในตำนานจีนกล่าวไว้ว่าสิงโตผลิตนมได้ด้วยอุ้งเท้า ดังนั้นผู้คนจึงมอบลูกบอลให้สิงโตเล่นเพื่อรีดนมออกมาใส่ในลูกบอล นอกจากนี้มีการตีความไว้อีกอย่างหนึ่งว่าสิงโตและลูกบอลคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ของมังกรและไข่มุกอันเปล่งประกาย
ประมูลชิ้นงานที่มาพร้อมกับสิงโตได้ที่ Lot 653, Lot 641 และ Lot 649 ในงานประมูลออนไลน์ในรูปแบบ Timed Auction ของชิ้นงานแอนทีคและของสะสมที่เปิดให้ประมูลถึงวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายนนี้ เวลา 18.00 น. (ตามเวลากรุงเทพฯ)
ชมชิ้นงานทั้งหมดได้ที่ลิ้งค์นี้