Featured Stories
ประกาศกรรมการตัดสินการประกวด RCB PORTRAIT PRIZE
วันพุธที่ 31 มีนาคม
ลินดา เชง กรรมการผู้จัดการริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ประกาศกรรมการตัดสินการประกวดการแข่งขันวาดภาพพอร์เทรตครั้งแรกในประเทศไทยหรือ RCB PORTRAIT PRIZE
“พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ต้อนรับทุกท่านที่มาจากแวดวงต่างๆในสังคมนักธุรกิจของประเทศไทยมาเป็นกรรมการตัดสินการประกวด RCB PORTRAIT PRIZE ที่จัดเป็นครั้งแรกของเมืองไทย โดยกรรมการทั้ง 7 ท่านประกอบไปด้วย สองท่านซึ่งเป็นผู้บริหารในเครือเจ้าพระยา ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น ร่วมด้วยบรรณาธิการบริหารและนักวิจารณ์สังคม นักสิทธิสตรี ผู้บริหารจากสถาบันการเงินของเมืองไทย นักสะสมผลงานศิลปะร่วมสมัยไทยและจากหน่วยงานรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยไปสู่ระดับโลก กรรมการทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และหลงใหลในศิลปะ”
“กรรมการผู้ตัดสินการประกวด RCB Portrait Prize ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกนั้นได้รับการเชื้อเชิญ อันเนื่องมาจากความชื่นชอบด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย พวกเขาเดินทางมามากมายและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์และภูมิหลัง อีกทั้งมีความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยและความสามารถ นอกจากนี้พวกเขาเป็นที่สนใจจากผู้คนในระดับชั้นต่างๆ ของสังคม และที่สำคัญที่สุดคือพวกเขาสื่อถึงมุมมองที่ว่าศิลปะควรสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้คนโดยปราศจากการฝึกฝนแต่อย่างใด เพราะศิลปะเป็นของทุกคน”
ศิลปินผู้อยู่ในประเทศไทยในปี 2564 สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ โดยต้องมีบุคคลที่ศิลปินรู้จักอย่างน้อยหนึ่งคนมานั่งเป็นแบบวาดให้กับศิลปิน โดยกรรมการจะเลือกตัดสินจากผลงานโดยไม่เปิดเผยว่าเป็นผลงานของศิลปินท่านใด ผลงานของศิลปินที่ผ่านการคัดเลือก 100 ท่านจะจัดแสดงที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกในระหว่างวันที่ 15 กันยายนถึง 10 พฤศจิกายน 2564
คณะกรรมการจะประกาศผู้ได้รับรางวัล RCB Portrait Prize ซึ่งจะได้เงินรางวัล 500,000 บาท ในวันที่ 14 กันยายน และประกาศผู้รางวัล Packer Room Prize พร้อมเงินรางวัล 200,000 บาทซึ่งตัดสินโดยทีมงานของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกในวันเดียวกัน ส่วนศิลปินที่ได้รับรางวัล People’s Choice Prize จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาทซึ่งตัดสินจากผลโหวตของผู้ที่มาชมนิทรรศการโดยจะประกาศในวันที่ 13 ตุลาคม นอกจากนี้มีการจำหน่ายผลงานทุกชิ้นที่จัดแสดง
คุณยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มอิตัลไทย หนึ่งในคณะกรรมการทั้ง 7 ท่าน กล่าวว่า ‘ภาพพอร์เทรตเปรียบดั่งหน้าต่างไปสู่ประวัติศาสตร์และสังคมของยุคนั้นๆ เมื่อคุณไปแกลเลอรีภาพพอร์เทรตแห่งชาติของประเทศต่างๆ คุณจะพบรูปภาพของบุคคลมากมายในอดีตแขวนอยู่บนผนัง ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ ราชินี นักการเมือง นักวิชาการ และบุคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการในเวลานั้น ดังนั้นการประกวดภาพพอร์เทรตจึงเป็นก้าวสำคัญที่จะดึงดูดบุคคลที่มีอิทธิพลในเมืองไทยและนำรูปภาพของพวกเขาไปอยู่บนผืนผ้าใบ