Featured Stories
เทคนิคไครอสคูโร (Chiaroscuro) ศิลปะแห่งการใช้แสงเงา
เหลือเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนสำหรับการส่งผลงานภาพวาดพอร์ตเพื่อร่วมประกวดในงาน RCB Portrait Prize 2021 การแข่งขันวาดภาพพอร์ตเทรตที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
ช่วงล็อคดาวน์กักตัวอยู่ที่บ้านแบบนี้ มาใช้เวลาสร้างสรรค์งานศิลปะกัน วันนี้เรามีเทคนิคที่เรียกได้ว่า ‘เก่าแต่เก๋า’ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการวาดภาพพอร์ตเทรตได้ อย่าลืมว่าภาพพอร์ตเทรตที่ส่งเข้าประกวดต้องเกิดจากการวาดโดยมีแบบมานั่งวาด (live sitting)
เทคนิค Chiaroscuro ที่กำลังนำเสนอนั้นจะช่วยทำให้ภาพพอร์ตเทรตดูมีมิติน่าสนใจและมีชีวิตมากขึ้นหากจัดแสงดีๆ เพราะเทคนิคนี้เป็นเรื่องของการใช้แสงเงาซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณและปรากฎอยู่ในภาพวาดพอร์ตเทรตที่เราเห็นกันบ่อยอย่างภาพ Mona Lisa ของเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) และ Girl with a Pearl Earring ของเวอร์เมียร์ (Vermeer)
คำว่า ‘Chiaroscuro’ เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า ‘สว่างและมืด’ ‘chiaro’ (ไครอส) แปลว่า ‘สว่าง’ ส่วน ‘scuro’ (สคูโร) แปลว่า ‘มืด’
ใครที่ติดตามนิทรรศการที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกอย่าง Italian Renaissance และ Leonardo Opera Omnia คงคุ้นตากับภาพวาดสไตล์นี้มาบ้างแล้วเพราะเทคนิคนี้เฟื่องฟูในหมู่ศิลปินระดับปรามาจารย์ในยุคเรอเนสซองส์ช่วงศตวรรษที่ 15-16 อย่างเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นศิลปินระดับมาสเตอร์คนแรกในยุคนั้นที่เอาเทคนิคนี้มาพัฒนาเพื่อเนรมิตให้ภาพวาดของเขาดูมีชีวิตมากขึ้น
คำถามก็คือดา วินชี นำมาใช้แล้วใครเป็นผู้ริเริ่มเทคนิค Chiaroscuro?
ย้อนกลับไปในสมัยกรีกโบราณ จิตรกรนาม อพอลโลโดรัส เสกียราปอส (Apollodorus Skiagraphos) ใช้การวาดเส้นแรงเงาเพื่อทำให้เกิดมิติ และดา วินชี นำมาพัฒนาในงานของเขาในยุคเรอเนสซองส์
ต่อมาในศตวรรษที่ 17 คาราวัจโจ (Caravaggio) เป็นผู้ทำให้เทคนิคนี้เฟื่องฟูสุดๆ จนกลายเป็นลายเซ็นในงานของเขาซึ่งจะเห็นได้ว่าบริเวณด้านหน้า (foreground) ของภาพดูสว่าง ส่วนด้านหลัง (background) จะมืด ซึ่งความขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงระหว่างความสว่างและมืดทำให้ภาพวาดของเขามีดูมีชีวิตและสื่ออารมณ์ออกมาได้มากขึ้น
หลังจากที่จิตรกรชาวอิตาเลียนได้ใช้เทคนิคนี้นำร่องมาก่อน จิตรกรชาวดัตช์อย่างเร็มแบรนดท์ (Rembrandt) ก็ได้นำมาใช้ในเวลาต่อมาและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ภาพพอร์ตเทรตจากฝีมือของเขาโดดเด่นตรงที่ใบหน้าด้านหนึ่งจะดูสว่างซึ่งสายตาคนเราเมื่อมองไปยังภาพจะโฟกัสไปยังส่วนที่สว่างมากกว่า
เทคนิคไครอสคูโรจึงเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจสำหรับการวาดภาพพอร์ตเทรต
RCB Portrait Prize 2021 ครั้งแรกของประเทศไทยกับการจัดประกวดวาดภาพพอร์ตเทรต ส่งผลงานได้ถึง 15 สิงหาคม 2564 ทาง [email protected]
ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ช่วงเวลาล็อคดาวน์แบบนี้ไปกับการวาดภาพเพื่อส่งเข้าประกวด นอกจากโอกาสที่จะได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงงานที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อกแล้วยังได้ลุ้นเงินรางวัลอีกด้วย
รางวัล RCB Portrait Prize 500,000 บาท
รางวัล The Packing Room Prize 200,000 บาท
รางวัล People’s Choice Prize 100,000 บาท
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่ https://rivercitybangkok.com/th/blog/2021/02/rcb-portrait-prize
#RCBPORTRAITPRIZE2021